หน่วยความจำหลัก เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล
และโปรแกรมต่างๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์
ซึ่งบางครั้งเราก็เรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก ( Primary
Storage ) หน่วยความจำหลักแบ่งเป็น 2 ประเภท
1.หน่วยความจำแบบอ่านอย่างเดียว หรือที่เรียกว่า รอม ( ROM
) คือหน่วยความจำที่เก็บชุดคำสั่งที่ใช้ในการเริ่มต้นการทำงานหรือชุดคำสั่งที่สำคัญๆ
ของระบบคอมพิวเตอร์ โดยคำสั่งเหล่านี้จะเก็บไว้ในในชิป ชื่อ ROM BIOS
( Basic Input/Output System ) เนื่องจากรอมมีคุณสมบัติในการเก็บข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าหล่อเลี้ยง
ถึงแม้ว่าเราจะปิดเครื่องแล้วเมื่อเปิดเครื่องใหม่ข้อมูลในรอมก็ยังอยู่เหมือนเดิมไม่มีการสูญหาย
แต่ข้อเสียของรอมคือไม่สามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมชุดคำสั่งได้ในภายหลัง
และมีความเร็วในการทำงานช้ากว่าหน่วยความจำแบบแรม
· 2.หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้
หรือที่เรียกว่า แรม ( Ram ) หมายถึงหน่วยความจำความเร็วสูงซึ่งเป็นที่เก็บโปรแกรมและข้อมูลในคอมพิวเตอร์
ถ้าไม่มีหน่วยความจำนี้โปรเซสเซอร์จะทำงานไม่ได้
เนื่องจากว่าหน่วยความจำแรมเป็นที่เก็บข้อมูลทุกอย่างที่โปรเซสเซอร์ใช้ในขณะกำลังทำงาน
เพราะอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลอื่น จะมีความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูลช้ามาก
ขณะที่ซีพียูทำงานจึงต้องทำงานกับหน่วยความจำแรมที่มีความเร็วสูง ถ้าคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำมากก็สามารถทำงานได้เร็วขึ้น
เพราะว่ามีเนื้อที่สำหรับเก็บคำสั่งโปรแกรมต่างๆ ได้ทั้งหมด
โดยที่ไม่จำเป็นต้องเรียกคำสั่งที่ใช้มาจากหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
ซึ่งจะทำให้การทำงานช้าลงอย่างมาก
หน่วยความจำรอง มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรม
เหมือนกับ หน่วยความจำหลัก แต่ต่างจากหน่วยความจำหลัก คือ หน่วยความจำรอง สามารถจัดเก็บข้อมูล และโปรแกรมไว้ใช้ในภายหลังได้
แม้จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลและโปรแกรมที่เก็บไว้
ไม่สูญหายหรือถูกลบทิ้ง นอกจากนี้ หน่วยความจำรอง สามารถเพิ่มขนาดความจุได้
เนื่องจากหน่วยความจำหลักจะมีขนาดความจุจำกัด หน่วยความจำรอง สามารถเพิ่มขนาดความจุได้ หน่วยประมวลผลจะเรียกใช้ข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำรอง
ได้จะช้ากว่า หน่วยความจำหลัก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น